SCGP

ลูน่า

Idea Tank
Team : powerful

Member

Ms Nueaprattana Sukornrerg

กล่องใส่หลอดไฟที่สามารถนำมาทำเป็นโคมไฟต่อได้ โดยการเจาะรูตามรอยที่ปรุไว้ และเมื่อนำหลอดไฟและตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ที่เจาะรุและมาประกอบกัน ก็จะกลายเป็นโคมไฟ และยังยืดอายุการใช้งานกล่องบรรจุภัณฑ์อีกด้วย

other Ideas

กรีนเวฟ
ทีมของพวกเรานั้นตระหนักถึงสถานการณ์ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในประเทศไทยเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่มากับผลิตภัณฑ์ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ออกมาใช้แต่บรรจุภัณฑ์ต้องทิ้งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทยปี 2566 พบว่าประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 26.95 ล้านตัน โดยมี ปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดไม่ถูกต้องประมาณ 7.47 ล้านตัน และ มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 9.31 ล้านตัน ทีมของพวกเราเชื่อว่าแม้ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีจะล้ำไปไกลแต่ความโดดเด่นด้านความประหยัดพลังงาน, การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใส่ใจเรื่องปัญหาโลกร้อนก็เป็นสิ่งสำคัญ ทีมของพวกเราจึงต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ผ่านการสร้างความตระหนักรู้ในการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิดระบบ Extended Producer Responsibility หรือ EPR เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ผลิตที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยควบคุมวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มต้นคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การจัดส่งกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัด เพื่อให้เกิดเป็นกระบวนการที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้เป็นกฎหมายในอนาคต
ธรรมชาติจากกากใยมะขาม
นักศึกษาและวัยทำงานต่างมีปัญหากวนใจโดยเฉพาะ เรื่องปัญหาผิวหน้า ผิวกาย และเรื่องกลิ่น เพราะในชีวิตประจำวันต้องออกไปเผชิญแดด ฝุ่น มลภาวะต่างๆ ทำให้มีปัญหาสิว ผิวแพ้ง่าย หรือแม้กระทั่งเมืองไทยที่มีอากาศร้อน ทำให้มีเรื่องกลิ่นตัวที่ตามมาในการใช้ชีวิต จากปัญหาดังกล่าวทำให้มีแรงบันดาลใจในการทำสบู่สมุนไพรมะขาม ของแบรนด์แม่แสงดี ที่ตัวแบรนด์ได้พัฒนาสินค้าสมุนไพรโดยเฉพาะส่วนประกอบหลักๆของแบรนด์นี้คือมะขามเป็นจุดเด่น มีกลิ่นหอมธรรมชาติ และไร้สารเคมี จึงได้นำบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรมะขามมาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และสะดวกต่อการใช้งานของวัยนักศึกษาและวัยทำงาน อีกทั้งสะดวกต่อการใช้งานในรูปแบบ Reuse ได้อีกด้วย
กระถางบรรจุส้มพร้อมปลูกแบบหมุนเวียน
เมื่อพูดถึงกระถางที่สามารถย่อยสลายได้และกระถางพลาสติก เราจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ในหลายด้านเริ่มจากด้าน ”สิ่งแวดล้อม” กระถางที่ย่อยสลายได้ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เยื่อของส้ม เยื่อกระดาษหรือไฟเบอร์ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ทิ้งสารพิษหรือไมโครพลาสติกในดิน ในขณะที่กระถางพลาสติกใช้เวลานานหลายร้อยปีในการย่อยสลาย และก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกสะสมในธรรมชาติ ในแง่ของการใช้งานกระถางย่อยสลายได้สามารถปลูกลงดินได้โดยตรง ทำให้รากพืชเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและไม่ต้องมีการถอดออก ซึ่งทำให้รากสามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ขณะที่กระถางพลาสติกต้องนำออกก่อนปลูกมิเช่นนั้นจะทำให้รากเกิดการเน่าเสียได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อพูดถึง ทรัพยากร กระถางพลาสติก ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน และมักไม่ถูกรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน กระถางย่อยสลายได้ใช้วัสดุที่สามารถหมุนเวียนได้ง่ายกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยรวมแล้วการเลือกใช้กระถางที่ย่อยสลายได้จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับโลกและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่าการใช้กระถางพลาสติกอย่างชัดเจน