SCGP

ผู้ซื้อจานแห่งความยั่งยืน

Idea Tank
Team : Prairie Charmer

Member

Ms Jidaphar Choochan

Ms Thanaphon Thatthepthanaboon

Ms Nichaphat Chucheep

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ (SWOT)

จุดแข็ง S (Strengths)

1.      การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ให้มีความ Minimal Luxury

2.      รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายต่อการใช้งานทั้งในการใส่อาหารหรือเพื่อการตกแต่ง

3.      กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ที่เป็นมากกว่ากล่องบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อจานชามทั่วไป

4.      มีการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่

5.      มีความสามารถในการป้องกันตัวผลิตภัณฑ์เสียหายระหว่างการขนส่ง

6.      ลดค่าใช้จ่ายในการแพ็กผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดส่ง

7.      เป็นการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในเรื่องของการใช้บรรจุภัณฑ์ได้อย่างคุ้มค่า

8.      เอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของตัวบรรจุภัณฑ์มีความแตกต่างไปจากเดิม

จุดอ่อน W (Weaknesses)

1.      ต้นทุนการผลิตสูง อาจมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

2.      เทคโนโลยีในการผลิตที่อาจทำได้ไม่ดีเท่ากับทางยุโรป

3.      อัตราในการเจริญเติบโตของธุรกิจต่ำ

4.      ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันมีจำนวนมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5.      มีต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่สูง

โอกาส O (Opportunities)

1.      มีการขยายตัวของธุรกิจร้านคาเฟเป็นจำนวนมาก

2.      พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบไปร้านคาเฟ

3.      “ว่ากันว่าถ้าจานสวยอาหารจะอร่อยขึ้น” วลีจากนักสะสมจาน

อุปสรรค T (Threats)

1.      ตัวผลิตภัณฑ์นั้นไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่กระแสรักษ์โลกกำลังเติบโตนั้นอาจส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

2.      สามารถมีสินค้าอื่นเข้ามาทดแทนได้

3.      พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการพัฒนารูปแบบ ลาดลวยของผลิตภัณฑ์และการวางแผนในด้านต่างๆอยู่ตลอดเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาแบรนด์

1.      ต้องการส่วนแบ่งตลาด 3% ภายใน 2 ปี

2.      ยอดขายในปีแรกไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

3.      มีฐานลูกค้าไม่ต่ำกว่า 1,000 รายในปีแรก

การกำหนดลูกค้าเป้าหมายและรายละเอียด Insight ของกลุ่มเป้าหมาย

1.      กลุ่มลูกค้าที่เป็นร้านคาเฟหรือธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้เข้าร้านคาเฟเป็นจำนวนมาก  และแน่นอนว่าการแข่งขันระหว่างร้านคาเฟเดียวกันมีจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติเครื่องดื่ม อาหารและการตกแต่งภายในร้าน ดังนั้นสิ่งที่ทำให้แตกต่างที่เป็นที่น่าดึงดูดให้ร้านได้อีกทางหนึ่ง อาจเป็นในส่วนของความแปลกใหม่หรือภาชนะที่ใช้มีลวดลายรูปแบบที่สวยงามแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร

2.      กลุ่มบุคคลที่ชอบสะสมจาน เป็นกลุ่มที่มีความชอบในเรื่องของการสะสมจานเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะใช้ความรู้สึกชอบและความสวยงามในการตัดสินใจซื้อมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์ แต่นอกจากความสวยงามแล้วนั้นก็สามารถนำมาตกแต่งบ้านได้และในบางครั้งก็ยังนำมาใช้เป็นภาชนะใส่อาหารเพราะเมื่อจานสวยอาหารจะอร่อยขึ้น

3.      กลุ่มบุคคลทั่วไป เป็นกลุ่มที่มีการซื้อเมื่อเกิดความจำเป็นในการใช้จาน เป็นการซื้อที่มีความพอเหมาะต่อความต้องการใช้ เช่นนักเรียนที่ย้ายจากบ้านมาอยู่หอพักต้องการซื้อจานไว้ที่หอพักเพื่อใช้ในการรับประทานอาหาร จึงได้ซื้อไว้เพียง 2-3 ใบ ซึ่งพอเหมาะต่อการใช้งานเพียงคนเดียว

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ

         เนื่องจากการซื้อจานในบางครั้งนั้นมักจะห่อหุ้มมาด้วยกระดาษและสวมด้วยพลาสติกหิ้วทั่วไป หรืออาจมาในรูปแบบของกล่องที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เราจึงได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่แม้จะห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์ได้แล้วนั้นก็ยังสามารถที่จะนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ได้และยังสามารถใช้เมื่อต้องการพกพาจานไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อีกด้วย

         บรรจุภัณฑ์ที่เราออกแบบนั้นเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์จานชามที่สามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นที่วางจานหลังทำความสะอาดหรือเป็นที่เก็บจานได้นั่นเอง เพื่อเป็นการลดขยะที่เกิดจากการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ด้วยแผ่นกระดาษและถุงพลาสติก นอกจากจะเป็นการลดขยะแล้วยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์กลับมา Reuse ใช้อีกครั้งในการวางจานหรือเก็บจานได้อีกด้วย

         ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นจะมีการออกแบบขนาดของกล่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความพอดีกับจานเพื่อเป็นป้องกันการเกิดความเสียหายและเพื่อความสะดวกสบายในการขนส่ง ซึ่งส่วนของรูปแบบภายนอกนั้นจะมีการใช้สีที่ทำให้ดึงดูดสายตาและลวดลายของกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม โดยตัวกล่องจะเป็นกระดาษผสมพลาสติกที่มีความหนาและสามารถโดนน้ำได้เพื่อเป็นการป้องกันการเสียหายในการขนส่งพร้อมทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการแพ็คสินค้าเพื่อการขนส่งได้อีกด้วย

กิจกรรมการตลาดและการพัฒนาแบรนด์ผ่านบรรจุภัณฑ์

        TOWS Matrix

SO (กลยุทธ์เชิงรุก)

1.      พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับลูกค้า

2.      ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

3.      เพิ่มสัดส่วนการตลาดและสร้างแบรนด์ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและเพื่อเพิ่มยอดขายให้มากยิ่งขึ้น

WO (กลยุทธ์เชิงแก้ไข)

1.      พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

2.      ศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแบรนด์เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของธุรกิจ

3.      ทำการสำรวจและวิเคราะห์ประสบการณ์ลูกค้าที่เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

ST (กลยุทธ์เชิงป้องกัน)

1.      สร้างความแตกต่างให้แบรนด์โดยออกแบบตัวผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์

2.      การวิเคราะห์ศึกษาคู่แข่งเพื่อการรู้เท่าทันและแนวโน้มของตลาดในช่วงเวลานั้น

3.      การจัดทำCampaingลดราคาหรือการแถมสินค้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ชะลอตัวของตลาดหรือการแข่งขันในตลาดที่สูงมากขึ้น

WT (กลยุทธ์เชิงรับ)

1.      บริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

2.      พัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือกระบวนการในการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

        ข้อมมูลแผนการตลาด (4P)

1.      Product

ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการออกแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงามน่าใช้งานและเป็นเอกลักษณ์ และมีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และมีบริการหลังการขาย และคืนสินค้าหากเกิดความเสียหาย

2.      Place

โดยทางแบรนด์จะทำการบริการสินค้าให้กับลูกค้าโดยผ่าน 2 ช่องทางหลักๆ ได้แก่ ผ่านทางออนไลน์ ลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์ได้ทุกที่ทั่วโลกและผ่านหน้าร้าน ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้เองตามความต้องการของลูกค้า

3.      Promotion

การโฆษณา - แจ้งข่าวสารกิจกรรมและสินค้า โดยการยิงแอดไปยังสื่ออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook , Instagram , TikTok,คำค้นหาใน Google , เว็บไซต์ของแบรนด์

การส่งเสริมการขาย - ในการทำส่วนลดในช่วงเทศกาลต่างๆ

4.      Price

มีการกำหนดราคาที่เป็นกลางระหว่างราคากลางของตลาด ต้นทุนการผลิตและการคาดการณ์กำไรสุทธิ โดยจะมีการตั้งราคาแบบ Psychological Pricing กับเซ็ทจาน แบบยกโหลและแบบชิ้นเดียวทั้งหมดของแบรนด์ ในส่วนรูปแบบการชำระเงินนั้นจะมีทั้งรูปแบบของเงินสด Scan QR Code และการตัดผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต

การวัดผลทางการตลาดและแบรนด์ (KPI)

ฝ่ายการผลิต

ตัวชี้วัด :  1. เพิ่มอัตราการผลิต

                 2. จำนวนความผิดพลาดในการผลิต

                 3. ผลิตได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วนตรงเวลา

                 4. ต้นทุนการผลิต

เกณฑ์การวัด :  1. เพิ่มขึ้น 10% จากปีแรก

                          2. น้อยกว่า 2% ของยอดการผลิตทั้งหมด

                          3. มากกว่า 97 ของ Lot การผลิตทั้งหมด

                          4. ลดลง 3% เมื่อเทียบกับปีแรก

ฝ่ายจัดซื้อ

ตัวชี้วัด :  1. ต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบได้ครบถ้วนตรงเวลา

                 2. คุณภาพของวัตถุดิบที่ซื้อ

                3. เมื่อจัดซื้อวัตถุดิบต้องมีการตรวจเช็คก่อน

เกณฑ์การวัด :  1. มากกว่า 97% ของ Lot การจัดซื้อทั้งหมด

                            2. จำนวนวัตถุดิบที่เสียหายหรือไม่ได้คุณภาพต้องน้อยกว่าร้อยละ 3

                            3. ทุกครั้งต้องมีการตรวจเช็ควัตถุดิบอย่างละเอียดก่อนนำมาใช้

ฝ่ายการตลาด

ตัวชี้วัด :  1. เพิ่มยอดขาย

                 2. เพิ่มฐานลูกค้าใหม่จากลูกค้าเดิม

                 3. ระดับความพึงพอใจในการบริการ

                 4. เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสื่อออนไลน์

เกณฑ์การวัด :  1. เพิ่มขึ้น 15% ของปีแรก

                           2. เพิ่มขึ้น 10% ของฐานลูกค้าเดิมในปีที่สอง

                           3.ระดับความพึงพอใจของลูกค้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

                           4. เพิ่มขึ้น 15% จากการเข้าชมครั้งแรก

ฝ่ายบุคลากร

ตัวชี้วัด :  1.  การมีส่วนร่วมของพนักงานในบริษัท

                 2. อัตราในการขาดงานของพนักงาน

                 3. อัตราในการลางานของพนักงาน

                 4. อัตราในการมาสายของพนักงาน

เกณฑ์การวัด :  1. มากกว่า 80% ของบุคลากรทั้งหมด

                          2. น้อยกว่า 5% ของวันทำงานทั้งหมด/คน/ปี

                          3. น้อยกว่า 10% ของวันทำงานทั้งหมด/คน/ปี

                          4. น้อยกว่า 7% ของวันทำงานทั้งหมด/คน/ปี

ฝ่ายบัญชีการเงิน

ตัวชี้วัด :  1.  ความถูกต้องของบิล

                 2. ภาระหนี้ค้างชำระ

                 3. การใช้งบประมาณเกินที่กำหนดไว้

                 4. ยอดขาย

                 5. กำไร

                 6.  จำนวนเงินปันผล

เกณฑ์การวัด :  1. มากกว่า 98% ของจำนวนบิลทั้งหมด

                           2. ไม่เกิน 100% ของยอดขาย

                           3. ไม่เกิน 3% ของงบประมาณทั้งหมด

                           4. มากกว่า 12% ของสินทรัพย์ทั้งหมด

                           5. มากกว่า 35% ของยอดขาย

                           6. มากกว่า 10% ของกำไร

other Ideas