MINIMALIZE ผ้าอนามัยมินิมอล

Team : MINI
Member
Ms Kanyanat Boonphet
Ms Kanchana Rattana
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
สถานการณ์ตลาดผ้าอนามัยในปัจจุบัน โอกาสและแนวโน้มการเติบโตตลาดผ้าอนามัย (Feminine Hygiene Products) เป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงทั่วโลก การเติบโตของตลาดนี้ได้รับแรงผลักดันจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้หญิง ความตระหนักด้านสุขอนามัย และความก้าวหน้าของนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ผลิตและนักการตลาดในอุตสาหกรรมนี้
ในปัจจุบันตลาดผ้าอนามัยมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ทั่วโลกและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 5-6% ในช่วงปี 2023-2028 ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ผลักดันการเติบโต ได้แก่ ความตระหนักด้านสุขอนามัยที่เพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา การเพิ่มขึ้นของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและออร์แกนิก รวมทั้งการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น โดยผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย เช่น ผ้าอนามัยออร์แกนิก ผ้าอนามัยที่ย่อยสลายได้ง่าย และผลิตภัณฑ์ใช้ซ้ำได้ เช่น ถ้วยอนามัย ซึ่งสะท้อนถึงการตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โอกาสในการเติบโตของผ้าอนามัยยังคงมีในตลาดเกิดใหม่ เช่น แอฟริกาและเอเชีย ที่ยังขาดการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขอนามัยที่เพียงพอ นอกจากนี้การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น ผ้าอนามัยที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียหรือการผลิตวัสดุที่ย่อยสลายได้ดีขึ้น จะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถแข่งขันในตลาดได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ยังคงอยู่คือการทำให้ผ้าอนามัยที่ย่อยสลายได้ หรือออร์แกนิก สามารถแข่งขันในด้านราคาได้กับผ้าอนามัยทั่วไปได้
Pain Point
- บรรจุภัณฑ์เปิดใช้งานได้ยากและไม่สะดวกสบาย
- การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดดเด่นเกินไป ทำให้ขาดความเป็นส่วนตัวในการพกพา
- บรรจุภัณฑ์ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสร้างขยะที่ย่อยสลายยาก
- การทิ้งผ้าอนามัยโดยไม่มิดชิดอาจนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
การตั้งเป้าหมายการพัฒนาแบรนด์
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เปิดใช้งานได้สะดวก
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความมินิมอล ไม่โดดเด่นจนเกินไป
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถห่อผ้าอนามัยได้มิดชิด
การกำหนดลูกค้าเป้าหมายและรายละเอียดข้อมูล
- บรรจุภัณฑ์เปิดใช้งานได้ยากและไม่สะดวกสบาย
- การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดดเด่นเกินไป ทำให้ขาดความเป็นส่วนตัวในการพกพา
- บรรจุภัณฑ์ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสร้างขยะที่ย่อยสลายยาก
- การทิ้งผ้าอนามัยโดยไม่มิดชิดอาจนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
การตั้งเป้าหมายการพัฒนาแบรนด์
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เปิดใช้งานได้สะดวก
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความมินิมอล ไม่โดดเด่นจนเกินไป
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถห่อผ้าอนามัยได้มิดชิด
การกำหนดลูกค้าเป้าหมายและรายละเอียดข้อมูล
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เปิดใช้งานได้สะดวก
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความมินิมอล ไม่โดดเด่นจนเกินไป
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถห่อผ้าอนามัยได้มิดชิด
การกำหนดลูกค้าเป้าหมายและรายละเอียดข้อมูล
Target
กลุ่มเป้าหมายหลัก : ผู้หญิงวัยรุ่นและวัยทำงานที่มีความต้องการใช้งานผ้าอนามัยเป็นประจำ และผู้ที่มีไลฟ์สไตล์แอคทีฟที่ต้องการความสะดวก
กลุ่มเป้าหมายรอง : ผู้หญิงวัยกลางคนที่มีความต้องการเฉพาะในบางช่วงผู้หญิงที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
Customer Persona

ชื่อ : พิมพ์
อายุ : 24 ปี
อาชีพ : พนักงานโรงแรม
รายได้ : 20,000 บาท/เดือน
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
สถานะ : โสด
ไลฟ์สไตล์ : ชอบเที่ยวผจญภัยเมื่อมีเวลาว่าง, กังวลเกี่ยวกับความสะอาด, ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม, ชอบอะไรที่เรียบง่าย
Needs&Wants :
- ต้องการความเรียบง่ายไม่ยุ่งยากและเยอะแยะ
- ต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและไม่สร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อม
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
ตามหลัก 3 R ทีมเราได้มีการออกแบบดังนี้
R1 : Recycle บรรจุภัณฑ์จะใช้บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ (Bioplastic) ที่สามารถรีไซเคิลได้
R2 : Reduce ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีลักษณะ Minimal เพื่อลดการใช้หมึกและสารเคมีในกระบวนการผลิต และลดการใช้กระดาษห่อผ้าอนามัยโดยจะมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขั้น Primary ให้สามารถห่อผ้าอนามัยได้มิดชิด โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษห่อเพิ่มเติม
R3 : Reuse บรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อก สามารถนำไปใช้จัดเก็บของใช้ส่วนตัวได้ เช่น เครื่องสำอาง ของใช้ในห้องน้ำ เป็นต้น โดยเราออกแบบลวดลายให้บรรจุภัณฑ์สามารถใช้งานได้หลายโอกาส
กิจกรรมทางการตลาด
1. จัดแคมเปญเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ใหม่
จัดงานเปิดตัวที่มีการเชิญบุคคลสำคัญหรืออินฟลูเอนเซอร์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและกระตุ้นการสนทนาบนโซเชียลมีเดีย
ยกตัวอย่างเช่น คุณหมอฟรัง อาชีพ แพทย์หญิง นักแสดง และอินฟลูเอนเซอร์
คุณโบว์ เมลดา อาชีพ นักแสดง นักร้อง และอินฟลูเอนเซอร์
2. จัดแคมเปญโซเชียลมีเดีย
ให้ลูกค้าถ่ายรูปบรรจุภัณฑ์พร้อมข้อความที่เสริมสร้างความมั่นใจ และแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อรับของรางวัลหรือส่วนลด
3. พันธมิตรกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมมือกับองค์กรที่ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและแสดงถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน
การพัฒนาแบรนด์ผ่านบรรจุภัณฑ์
1. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เงียบ ใช้วัสดุที่ช่วยลดเสียงของการเปิดบรรจุภัณฑ์ เช่น การใช้กระดาษหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง เพื่อเพิ่มความสะดวกและความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน
2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีฟิลได้ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเติมผ้าอนามัยใหม่ได้ ช่วยลดการใช้พลาสติกและเพิ่มความสะดวกในการเติม
KPI
1. จัดแคมเปญเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ใหม่
- จำนวนยอดขาย 1 เดือนแรก 50,000 ชิ้น
2. จัดแคมเปญโซเชียลมีเดีย
- จำนวนผู้เข้าร่วมแคมเปญมากกว่า 200 คน
3. พันธมิตรกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
- ลดปริมาณขยะจากผ้าอนามัยมากกว่า 1,000 ล้านชิ้นต่อปี