SCGP

ธรรมชาติจากกากใยมะขาม

Idea Tank
Team : solo

Member

Ms Yanisa Promseeda

วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ

แบรนด์แม่แสงดี มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ ที่เน้นในเรื่องความเป็นธรรมชาติ ปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมี และหลักๆยังคงจุดเด่นของมะขามเปรี้ยวที่เป็นจุดแข็งของแบรนด์ไว้ อีกทั้งแบรนด์แม่แสงดีจากที่เคยเป็นกลุ่มแม่บ้านแปรรูปครีมมะขามในชุมชน จ.พะเยา จนปัจจุบันได้ยกระดับจากสินค้า OTOP สู่ SMEs

จุดแข็ง

  1. ผลิตภัณฑ์ใช้สินค้าสมุนไพร และ มะขามที่เป็นเอกลักษณ์
  2. กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพมีงานวิจัยรองรับ ปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี
  3. สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์แก่คนรุ่นใหม่
  4. ราคารย่อมเยาว์

จุดอ่อน

  1. ผลิตภัณฑ์ถูกนำไปเลียนแบบ ซึ่งทางแบรนด์ไม่สารมารถจดสิทธิบัตรได้เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
  2. ผลิตภัณฑ์อื่นๆของแบรนด์นอกจากครีมมะขามขัดผิว ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
  3. เป็นแบรนด์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง

โอกาส

ทางแบรนด์จะเพิ่มสินค้าสมุนไพรให้มีความหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งมีแผนจะเติบโตมากขึ้นในต่างประเทศ และสินค้าที่ออกแบบจะดึงดูดลูกค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น

อุปสรรค

ผลิตภัณฑ์สบู่ มีการแข่งขันกันสูงในตลาด

ลูกค้า

ผู้หญิง อายุประมาณ 20-38 ปี วัยนักศึกษา ถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน ที่มีปัญหาผิว ผิวแพ้ง่าย หรือแม้กระทั่งเรื่องกลิ่น ทั้งคนไทยและต่างประเทศ

กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาแบรนด์

แม่แสงดี มีวิสัยทัศน์ว่า “ เพื่อส่งเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน และเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสมุนไพรตามหัวไร่ปลายนา จนติดตลาดและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ” ทางแบรนด์ต้องการนำเสนอ ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่น ของต้นกำเนิดจากจังหวัดพะเยา จึงคิดออกแบบชูเอกลักษณ์ของกากใยจากธรรมชาติที่ไร้สารเคมี และออกแบบสื่อสารถึงวัฒนธรรมของชุมชนที่มีการสืบทอดส่งต่อสิ่งดีๆ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของแหล่งกำเนิดสบู่มะขาม จังหวัด พะเยา และมีลายที่สื่อถึงความเป็นไทย ออกแบบเพื่อกลุ่มวัยนักศึกษา วัยทำงาน ทั้งไทยและต่างชาติ ให้เป็นที่รู้จัก สินค้าเป็นที่จดจำง่ายสะดวกต่อการใช้งานที่หลากหลาย

กำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และรายละเอียด Insight ของกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย – ผู้หญิง อายุ 20-38 ปี วัยนักศึกษา ถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน

เพราะ คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง และจะเป็นช่วงกลุ่มคนที่ใช้สบู่สมุนไพรเพื่อบำรุงผิว หรือ คนที่แพ้สารเคมีได้ง่าย อีกทั้งกลุ่มวัยนี้ส่วนใหญ่จะแต่งหน้าบ่อยๆแล้วอาจมีปัญหาผิวตามมาเลยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบอ่อนๆไร้สารเคมีอย่างสบู่สมุนไพรมะขาม

พฤติกรรมของผู้บริโภค (กลุ่มคนไทย)

ชอบความเรียบง่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน มีความสนใจการดูแลตัวเอง ทั้งผิวและกลิ่น ชอบสมุนไพร ไว้วางใจกับสมุนไพรเพราะปลอดสารเคมี เชื่อว่าถ้าใช้แล้วผิวพรรณจะสุขภาพดีขึ้น ชอบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย

พฤติกรรมการซื้อ (กลุ่มคนไทย)

ชอบความธรรมดาเรียบง่ายที่ดูสมัยใหม่มีเอกลักษณ์ มีไอเดีย มีเรื่องราว และตัวบรรจุภัณฑ์สินค้ายังสวยงามมีประโยชน์สามารถใช้งานต่อได้ อีกทั้งบรรจุัณฑ์ยังช่วยโลก ช่วยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

พฤติกรรมของผู้บริโภค (กลุ่มคนต่างชาติ)

วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายต่างชาติ ส่วนใหญ่ชอบสบู่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กลิ่นหอม เคยมีปัญหาเรื่องสารเคมีที่เป็นเครื่องอุปโภค เนื่องจากสะสมในแหล่งน้ำ เลยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นธรรมชาติ นิยมใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติของสมุนไพร เช่น ผลิตภัณฑ์การบำรุงผิว หรือ การสปา

พฤติกรรมการซื้อ (กลุ่มคนต่างชาติ)

ชอบความธรรมชาติของสมุนไพรไร้สารเคมี ชอบความสมัยใหม่เข้าใจง่ายมีเอกลักษณ์ และชอบผลิตภัณฑ์รักโลก

The growth share matrix : วิเคราะห์แบรนด์แม่แสงดี

เครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจ The growth share matrix วิเคราะห์ได้ว่าสินค้าสบู่สมุนไพรมะขามแม่แสงดี จะจัดอยู่ในหมวดหมู่ Question marks เนื่องจากตอนนี้ธุรกิจมีแนวโน้มกำลังพัฒนา ปรับเปลี่ยนให้เติบโตได้

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ

  1. บรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรมะขาม มีแนวคิดมากจาก กากใยของธรรมชาติ เพื่อสื่อถึงส่วนประกอบที่มีประโยชน์ของมะขาม และมาจากธรรมชาติที่ไร้สารเคมี
  2. การออกแบบมีการตัดทอนรายละเอียดของมะขามจากตัวกล่อง ตัดให้เป็น Silhouette ทรงฝักมะขาม เมื่อเปิดกล่องจะเหมือนการแกะเปลือกมะขาม เพื่อให้เห็นเนื้อมะขาม นั่นก็คือตัวสบู่ ใช้โทนสีที่เรียบง่ายสะอาดตา มีการเจาะรูลายกากใยมะขามของกล่อง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถ ดม และเห็นตัวสบู่ข้างในได้ทันที
  3. ลวดลายหน้ากล่องตรงกากใยมะขาม และลวดลายใต้ฝากล่อง เป็นลายดอกสารภี ดอกไม้มงคล และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา และมีเรื่องราวภายในกล่อง โดยเรื่องราวในกล่องจะเล่าถึงที่มาของแบรนด์แม่แสงดีจากภาพประกอบ มีการใส่รายละเอียดกระทะสมัยที่ยังเป็นชุมชนกลุ่มแม่บ้านแปรรูปครีมมะขาม จนถึงเจ้าของแบรนด์ที่มารับช่วงต่อในปัจจุบัน เป็นภาพประกอบลวดลายมีลักษณะเป็นลายไทยประยุกต์ที่เข้าใจง่าย
  4. มีการเขียนมีวิสัยทัศน์ภายในกล่องว่า ธรรมชาติสามารถดูแลเราได้อย่างดีที่สุด สวยใสไร้สารเคมี เป็นประโยคสั้นๆกระชับ ที่สื่อถึงผู้บริโภคได้เข้าใจง่าย
  5. วัสดุเป็นกระดาษคราฟท์ ตัวสบู่มีกระดาษแก้วห่อหุ้ม เพื่อรักษากลิ่นไม่ให้ระเหิด และสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ได้ดี บรรจุภัณฑ์ มีน้ำหนักเบา ทรงสี่เหลี่ยม สะดวกต่อการขนย้ายและจัดเก็บ

บรรจุภัณฑ์ของสบู่สมุนไพรมะขาม จะใช้หลัก Reuse เนื่องจากมีแนวคิดว่า เมื่อสบู่ที่ใช้จะหมดแล้ว จะนำไปไว้ที่ไหน

  1. สามารถปิดกล่องเพื่อให้ประหยัดพื้นที่และไม่ให้กลิ่นออกมามาก
  2. เปิดกล่องเพื่อกระจายกลิ่น และสามารถใส่สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับกลิ่นลงในกล่องได้ไม่ว่าจะเป็น มะกรูด ใบเตย เปลือกส้ม ก็สามารถนำมาใส่กล่องเพื่อสร้างกลิ่นได้
  3. สามารถใช้ได้กับหลายๆพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในห้องน้ำ ในตู้เสื้อผ้าก็สามารถนำมาแขวนได้
  4. สะดวกทั้งการหยิบใช้ และ นำไปใช้ต่อ

กิจกรรมการตลาดและการพัฒนาแบรนด์ผ่านบรรจุภัณฑ์

ปัจจุบันแบรนด์ได้ขายสินค้า มีขายหน้าร้านที่ จังหวัด พะเยา และทางแบรนด์หลักๆแล้วจะขายช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ได้แก่ หน้าเว็บไซด์ , Instagram , Line , Page Facebook , shopee และมีการส่งออกต่างประเทศอย่าง ออสเตรเลีย , แคนาดา , สิงคโปร์ และมีแผนรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้นในอนาคต จึงคิดว่าจะขยายช่องทางการตลาดที่ tiktok เพราะ แพลตฟอร์ม tiktok เป็นสื่อกระบวนการที่กว้างขวางทางออนไลน์ไวรัลได้ง่ายทำให้คนเห็นสินค้าได้มากขึ้นทั้งในไทย และต่างชาติ

การพัฒนาแบรนด์ผ่านบรรจุภัณฑ์จะนำเอาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างลวดลายดอกไม้ประจำจังหวัด และภาพประกอบเส้นไทยประยุกต์มาออกแบบ และออกแบบสื่อสารถึงวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งกำเนิด สบู่มะขาม จังหวัด พะเยา มาออกแบบให้มีความโมเดริน์มากขึ้นสมัยใหม่ ดูมีเอกลักษณ์น่าจดจำ สะดวกตต่อการใช้ จัดเก็บ และนำไปใช้ต่อ ตอบโจทย์ทั้งคนไทยและต่างชาติมากขึ้น

การวัดผลทางการตลาดและแบรนด์

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์ของทางแบรนด์ ให้สื่อสาร แพร่หลายเป็นที่จดจำมากขึ้น และเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นให้ดูสมัยใหม่ สื่อสารกากใยจากมะขามให้ดูเป็นเอกลักษณ์ความเป็นธรรมชาติปลอดสารเคมี ลายประจำจังหวัด ชูเอกลักษณ์เดิมเหล่านี้ให้มีความน่าสนใจ ให้ตอบโจทย์ทั้งไทยและต่างชาติ

other Ideas