SCGP

ข.ฃวด ผักตบ

Idea Tank
Team : TTC

Member

นาย คณาเนศ เวชวิธี

นางสาว ชนิสรา ณ นคร

นางสาว ปพิชญา ใจปัญญา

Pain Point

ขวดน้ำพลาสติก ถึงแม้จะประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านความสะดวกในการใช้งาน รวมถึงด้านวัสดุที่มีราคาถูก น้ำหนักเบา และทนทาน แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ นั้นหมายถึง สิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลายไปทีละนิด สะท้อนกลับมาที่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำของขวดพลาสติก แต่กลับกลายเป็นว่ามีต้นทุนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่จำนวนมหาศาล 

พลาสติกที่ใช้ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 50 เป็นพลาสติกที่ใช้เพียง 1 ครั้งแล้วทิ้ง 


"เราใช้เวลากินน้ำจากขวดพลาสติกและทิ้งมันไปในไม่กี่นาที
แต่พลาสติกเหล่านี้ใช้เวลาการย่อยสลาย 1 ขวดอาจนานถึง 450 ปี"

ขวดพลาสติกยังสร้างปัญหาอีกมากมาย อาทิเช่น ปัญหาท่ออุดตัน, เกิดอันตรายต่อระบบย่อยอาหารของสัตว์, สิ่งแวดล้อมแย่ลง ,เกิดภาวะโลกร้อน  ขวดพลาสติกนอกจากจะใช้พลังงานมหาศาลในการผลิตแล้วยังใช้พลังสร้างอย่างมากในการทำลายอีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก

Solution

จากปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจากการใช้ขวดพลาสติก ทำให้ทีมของพวกเราเกิดแนวคิด ที่จะสร้างสรรค์ขวดน้ำที่ภายนอกทำจากผักตกชวาขึ้นรูป สามารถเปิด-ปิด ได้ เพื่อเปลี่ยนถุงเก็บน้ำภายใน โดยถุงเก็บน้ำจะทำจากใบและก้านของผักตกชวา ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ให้กลายเป็นเส้นใยความละเอียดสูง แล้วนำมาถักทอให้กลายเป็นถุง  โดยคุณสมบัติถุงใส่น้ำที่ทำจากผักตกชวา จะคงทน เทียบเท่ากับพลาสติก เพราะผักตกชวาเป็นพืชที่อยู่ในน้ำอยู่แล้ว ทำให้มีสารภายในบางชนิดที่จะช่วยให้น้ำไม่รั่วซึม อีกทั้งผักตกชวาเป็นพืชล้มลุก อายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกกับน้ำทุกสภาพ มีความเหนียวจากธรรมชาติเป็นพิเศษ

Product

ผลิตภัณฑ์ของเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก

  1. ตัวขวดภายนอก - ทำจากใบของผักตบชวา เพราะมีความเหนียวกว่าส่วนอื่นๆ เป็นพิเศษ
  2. ถุงเก็บน้ำภายใน - ทำจากลำต้นและใบของผักตบชวา เพราะมีความเหนียวและเหมาะแก่การนำไปนำเป็นเส้นใยถักทอ
  3. ฝาขวด - ทำจากใบของผักตบชวา เพราะ มีความเหนียวกว่าส่วนอื่นๆ เป็นพิเศษ

Pros

ผลิตภัณฑ์ของเรามีข้อดี จุดเด่น ข้อแตกต่างจากท้องตลอดดังนี้ 

  1. ตัวขวดสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้เอง 100% 
  2. หากผักตบชวาได้รับการปลูก และ ทำความสะอาดอย่างดี จะทำให้ขวดน้ำไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ และรสของน้ำไม่เปลี่ยนจากเดิม
  3. การรั่วซึม - ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานของผักตบชวาที่มีความเหนียวอยู่แล้ว หากปรับแต่งผสมผสานสารเคมีบางชนิด เข้าไป เพื่อให้คงทนต่อการใช้งาน ก็จะทำให้การป้องกันการรั่วซึมของขวดทำได้ดีขึ้น

Usability

ขวดน้ำผักตบชวา ในปัจจุบัน หากยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรมน้ำดื่มขนาดใหญ่ อาจนำไปใช้ประโยชน์ในเบื้องต้นดังนี้

  1. ใส่น้ำสมุนไพร เพื่อจำหน่ายในชุมชน หรือ ธุรกิจขนาดเล็ก เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจ
  2. ใส่น้ำดื่มแบบชั่วคราว ระยะเวลา 1 - 2 อาทิตย์ 
  3. ใช้แจกแก่แขกผู้ร่วมงาน เช่น งานสัมมนา การทัศนศึกษาของนักเรียน นักศึกษา
  4. ใช้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้าป่า เพื่อป้องกันการทิ้งขยะระหว่างทาง
  5. ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนร่วมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
  6. ใช้บรรจุเครื่องดื่ม หรือ สารชนิดอื่นๆ ที่ไม่ปฏิกิริยาเคมีกับผักตบชวา แทนการใช้ขวดพลาสติก
  7. ใช้เป็นของที่ระลึก สำหรับแจกในงานต่างๆ เป็นการช่วยลดงบประมาณ และ รักษาสิ่งแวดล้อม

Result

  1. การลดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้เร็วยิ่งขึ้น
  2. สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น ภาวะโลกร้อนเบาบางลง ฟื้นฟูธรรมชาติ
  3. ช่วยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของ UN ข้อ 12 - การมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
  4. บรรลุเป้าหมาย ESG ด้าน E(Environment) ที่มีหลักเกณฑ์คำนึงถึงในด้านความรับผิดชอบของการผลิตที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม
  5. ลดปริมาณผักตกชวาที่สร้างความเดือดร้อนลง และยังช่วยลดปริมาณการเกิดขยะพลาสติก
  6. สร้างรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าแก่ผักตกชวา ที่มีจำนวนมาก ในประเทศไทย 
  7. ขวดน้ำผักตกชวาของเราสามารถ รีไซเคิลได้ 100% รวมถึงสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมภายใน 3-6 เดือน
  8. สามารถสร้างคุณค่า สร้างความยั่งยืนให้แก่แบรนด์ที่ต้องการความมั่นคง ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น

ขวดผักตบของพวกเราอาจไม่ใช่ขวดน้ำอันดับ1  แต่จะเป็น 1 ในทางเลือกของผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

other Ideas