ReBeer “เปิดง่าย ใช้นาน“
Team : น้องหมูดิน
Member
Ms Pathitta Yenwatthana
Market Situation
ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่าที่เติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 490,680 ล้านบาท แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว หลายบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการขยายตัวในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในขวดแก้ว เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเภทเครื่องดื่มหลักที่ยังคงครองตลาดคือเบียร์ คิดเป็น 55% ของยอดขาย โดยเฉพาะเบียร์ลาเกอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนสุรามีส่วนแบ่งตลาด 37% และไวน์อยู่ที่ 7%
ตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนจากรัฐบาล และการพัฒนาทางเทคโนโลยี แต่ยังคงมีความท้าทายด้านต้นทุนและกฎระเบียบที่เข้มงวด
PEST
• Political
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลและมาตรการสนับสนุน การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน หรือการกำหนดมาตรการควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ หันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
• Social
เทรนด์รักษ์โลก ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น
• Technology
เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัจจัยสำคัญในตลาด เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาหรือเลือกใช้วัสดุในการผลิตบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
• Environmental
ความต้องการลดขยะพลาสติกและลดการปล่อยคาร์บอนเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ส่งผลให้ผู้บริโภคพิจารณาการเลือกบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
สถานการณ์การแข่งขัน
ตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรงผลักดันจากทั้งภาครัฐและผู้บริโภคที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลกมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวและเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ รีไซเคิลได้ หรือทำจากวัสดุธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าบรรจุภัณฑ์ทั่วไปยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่บริษัทต้องเผชิญในการแข่งขัน
ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการแข่งขันสูงเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เบียร์และสุราพรีเมียม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มองหาเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น เบียร์คราฟต์และเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำ รวมถึงเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ การแข่งขันในตลาดนี้ยังถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและการทำตลาดที่เน้นภาพลักษณ์ เช่น การพัฒนาสูตรใหม่หรือการนำเสนอเครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาแบรนด์
1. ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์
2. ใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100%
3. ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4. บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
TARGET
กลุ่มเป้าหมายหลัก : Gen Y ที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเป้าหมายรอง : ผู้ประกอบการ ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ มีพฤติกรรมการเลือกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
INSIGHT
- ทำไมเบียร์ฝรั่งฝาเปิดง่ายแต่เบียร์ไทยฝาเปิดยาก
- ซื้อเบียร์มาแล้ว แต่ลืมซื้อแก้วมากินเบียร์
- ขอฮาวทูเปิดกระป๋องเบียร์แล้วเล็บไม่ฉีก
- เบียร์ไทยเปิดยากกกว่าเบียร์ฝรั่งมาก
- อยากให้มีแก้วขายพร้อมเบียร์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เบียร์กระป๋องเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควรเริ่มจากการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน โดยการใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล เนื่องจากอะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรีไซเคิลอะลูมิเนียมจะใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตใหม่ถึง 95% และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่จำกัดและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ เช่น พลาสติก นอกจากนี้ กระป๋องอลูมิเนียมยังมีคุณสมบัติในการปกป้องเบียร์จากแสงและออกซิเจน ซึ่งช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์และลดของเสียที่เกิดจากการเน่าเสีย ทำให้การออกแบบตอบโจทย์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพในการใช้งาน
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังควรให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานและความสะดวกสบายของผู้บริโภค เช่น การใช้ฝาเปิดที่ง่ายต่อการเปิดและรีไซเคิล ทั้งยังสามารถนำกระป๋องที่เป็นแก้วน้ำกลับไปใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง นอกจากนี้ การเลือกใช้สีและกราฟิกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น หมึกจากวัตถุดิบธรรมชาติ สามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย การออกแบบควรเน้นไปที่การสื่อสารเรื่องราวความยั่งยืนของแบรนด์ เช่น การแสดงข้อมูลบนกระป๋องเกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลและผลกระทบเชิงบวกที่ผู้บริโภคจะมีต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นี้
นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ควรถูกออกแบบให้ส่งเสริมการใช้ซ้ำ เช่น การออกแบบที่กระป๋องสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นได้หลังจากดื่มเสร็จ เช่น การทำงานฝีมือหรือนำไปปลูกต้นไม้ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่าของบรรจุภัณฑ์มากกว่าการเป็นเพียงภาชนะใช้แล้วทิ้ง การออกแบบในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดปริมาณขยะที่ส่งไปยังหลุมฝังกลบ แต่ยังสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในหมู่ผู้บริโภคอีกด้วย
กิจกรรมทางการตลาด
แคมเปญ “รู้ว่าเป็นมิตร จึงคิดที่จะลอง”
เป็นการทำคอนเทนต์สื่อสารการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์กระป๋องเบียร์ให้ผู้บริโภครับรู้มากขึ้น โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น TikTok Facebook ในการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถ Reuse Reduce Recycle เป็นอย่างอื่นได้ อีกทั้งยังความสะดวกต่อการบริโภคเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมการพัฒนาแบรนด์
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน
มุ่งพัฒนาแบรนด์โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาจะต้องลดการใช้พลาสติกให้มากที่สุด มีประโยชน์ต่อการใช้งานในครั้งถัดไปหรือนำไปDIYเป็นวัสดุอื่นได้และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกวิธีหนึ่ง นอกจากนี้ ในแต่ละกระบวนการผลิตต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด
การวัดผลทางการตลาดและแบรนด์
จำนวนการรับรู้ของผู้บริโภค ได้แก่
TikTok : 5 ล้านการเข้าชม, 7 แสนไลก์, 5 หมื่นคอมเมนท์ และ 2 หมื่นแชร์
Facebook : 1 หมื่นไลก์, 1,000 คอมเมนท์ และ 2,000 แชร์