หมู ดล ยอ
Team : THE INSIGHT
Member
Mr Bowonphot Aupkaew
Concept
การออกแบบบรรจุภัณฑ์หมูยอ โดยนำเสนอผ่านแบรนด์ หมู-ดล-ยอ ( เปรียบเหมือนตัวช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจในการรังสรรค์เมนูอาหารที่มาจากวัตถุดิบหมูยอ)
ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบให้มีความเรียบง่าย เป็นกันเอง และใช้กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ในการสื่อสารถึงกิจกรรมข้างใน เพื่อสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคที่คิดไม่ออกว่าจะนำหมูยอไปทำเมนูอะไรต่อ จึงมีแนวคิดเหมือนการทำกล่องสุ่มเมนู โดยข้างในบรรจุภัณฑ์จะมีเมนูที่แตกต่างกันออกไป และมีวิธีการทำอาหารบอกไว้เป็นขั้นตอนต่าง ๆ
อีกทั้งมีการใช้ปริมาณกระดาษและพลาสติกที่น้อย นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยัง RE-USE โดยการนำมาใช้เป็นที่คั่นหนังสือขนาดกะทัดรัดที่พกพาได้ง่ายในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
Market Research
จากกรณีศึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับหมูยอ จังหวัดอุบลราชธานี
หมูยอเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นบ้าน นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เป็นผลิตภัณฑ์ ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตในมูลค่าที่สูง ทำให้มีการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน มีการวางจำหน่าย กันอย่างแพร่หลายทั้งตลาด ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก และร้านสะดวกซื้อ ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการหมูยอ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่น และผู้ประกอบการขนาดเล็ก ทำให้การแข่งขันในธุรกิจค่อนข้างสูง เนื่องจากมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตแต่ละรายไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของภาพลักษณ์บรรจุภัณฑ์
รูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับหมูยอในปัจจุบัน มี 2 ระดับ ได้แก่ ห่อด้วยใบตอง ห่อด้วยพลาสติก
พฤติกรรมการซื้อหมูยอของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อ เลือกซื้อหมูยอธรรมดาที่มีบรรจุภัณฑ์ห่อด้วยพลาสติกหรือใบตอง (เลือกซื้อได้ทั้งสองอย่าง) รองลงมาได้แก่ หมูยอ ที่ห่อด้วยบรรจุภัณฑ์ใบตอง (อย่างเดียว) เลือกซื้อหมูยอขนาดกลาง รองลงมาได้แก่ ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ซื้อหมูยอ ความถี่ 1-2 ครั้งต่อเดือน และซื้อหมูยอจำนวน 1-2 แท่งต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อหมูยอที่ตลาดสด รองลงมาได้แก่ ร้านสะดวกซื้อหรือมินิมาร์ท เพื่อประกอบอาหารรับประทานเองและผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อ หมูยอด้วยตัวเอง
ผู้บริโภคเพศหญิงวัยทำงานช่วงอายุ 21-40 ปี ชอบจับจ่ายใช้สอยในร้านสะดวกซื้อ ส่วนตำแหน่ง ของผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์หมูยอรูปแบบใหม่ที่พัฒนาออกมามีความแตกต่างจากหมูยอตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งจากผลการศึกษาคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะเลือกช่องทางการจับจ่ายใช้สอยผ่านร้านสะดวกซื้อหรือมินิมาร์ท จึงมองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากพฤติกรรมการเลือกซื้อ และรูปแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับช่องทางการจำหน่าย
Target
คนที่ชอบรับประทานหมูยอที่ซื้อผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อหรือมินิมาร์ท ที่ชอบความสะดวกสบาย อายุตั้งแต่ 21-40 ปี
ผู้บริโภคอายุตั้งแต่ 21-40 ปี ที่นิยมรับประทานหมูยอเป็นของทานเล่น หรืออาหารในครัวเรือน ที่มีไลฟ์สไตล์ชอบความสะดวก มักจับจ่ายใช้สอยทางร้านสะดวกซื้อหรือมินิมาร์ท
Target Insight
ผู้บริโภคมักมองหาผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการนำไปปรุงหรือทานได้ทันที มีความหลากหลายในการใช้ รสชาติ เชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า ความคุ้มค่าในราคา บรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย และให้ความสนใจการเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมการกินแบบท้องถิ่น